28 พฤศจิกายน 2553

ตัวแปรในภาษา C++ และการนำไปใช้งาน





     ไม่ได้ Update Blog กันนานเลย ช่วงนี้งานเยอะ (มั้ง) เลยไม่ค่อยจะมีเวลาเขียนเท่าไร :D เอาเป็นว่าวันนี้เรามารู้จักตัวแปรในภาษา C++ กันดีกว่า หลังจากที่เขียนบทความเรื่อง "ภาษา C++ เบื้องต้นและการแสดงข้อความ" ไปนานแล้ว (เกือบเดือนได้แล้วมั้ง ><') กว่าที่จะรื้อฟิ้นความหลังจากที่เรียนปีหนึ่งได้ กว่าจะหาข้อมูลที่อยากเขียนได้ กว่าจะหาแหล่งอ้างอิงข้อมูลได้ ก็เล่นซะเหนื่อยเลย เอาละบ่นมากพอละ :D เข้าเนื้อหากันดีกว่า





ตัวแปรโปรแกรมคือ
          ชุดของอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป มารวมกันตามรูปแบบของภาษานั้นๆกำหนด เพื่อที่จะแทนค่าของค่าค่าหนึ่ง (พูดง่ายๆ ก็คล้ายๆ ตัวแปร x y z ในคณิตศาสตร์นั้นละครับ)

ชนิดข้อมูลในภาษา C++
ชนิดตัวแปร ขนาด การเก็บข้อมูล เช่น
char 1 byte ตัวอักษร 1 ตัวอักษร (ASCII -128 ถึง 127) A B C a b c 1 2 3 * !
int 4 byte ตัวเลขจำนวนเต็ม -2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647 -1 -2 -3 0 1 2 3 10 20 30
unsigned int 4 byte ตัวเลขจำนวนเต็มบวก 0 ถึง 4,294,967,295 1 2 3 4 10 20 30 99
short int 2 byte ตัวเลขจำนวนเต็ม -32,768 ถึง 32,767 -1 -2 -3 0 1 2 3 10 20 30
unsigned short int 1 byte ตัวเลขจำนวนเต็มบวก 0 ถึง 65,535 1 2 3 4 10 20 30 99
float 4 byte ตัวเลขทศนิยมสูงสุด 7 ตำแหน่ง 3.14 2.00 55.5 99.9
double 8 byte ตัวเลขทศนิยมสูงสุด 15 ตำแหน่ง 3.14 2.00 55.5 99.9
long double 10 byte ตัวเลขทศนิยมสูงสุด 19 ตำแหน่ง 3.14 2.00 55.5 99.9
bool 1 bit ค่า True และ False 0 เป็นค่า False ที่เหลือเป็นค่า Ture

การประกาศตัวแปรในภาษา C++
1. ประกาศตัวแปร 1 ตัว
<ชนิดตัวแปร> <ชื่อตัวแปร 1>;

***** ชื่อตัวแปรควรสื่อถึงสิ่งที่เราควรเก็บไว้ด้วย เช่น คะแนน อาจใช้คำว่า score *****

ตัวอย่าง
int a;
char b;
unsigned int c;

2. ประกาศตัวแปรมากกว่า 1 ตัว
<ชนิดตัวแปร> <ชื่อตัวแปรที่ 1>,<ชื่อตัวแปรที่ 2>, ..... , <ชื่อตัวแปรที่ n>;

ตัวอย่าง
int a1,a2;
char b,choise;
unsigned int c,number;

3. ประกาศตัวพร้อมกำหนดค่า
<ชนิดตัวแปร> <ชื่อตัวแปรที่ 1>=<ค่าของตัวแปร>;

ตัวอย่าง
int a=2,b=3;
char c='A';
float grade=4.0;

กฏการตั้งชื่อตัวแปร
1. ชื่อตัวแปรจะต้องไม่มีตัวอักษรพิเศษใดๆ ประกอบอยู่ด้วย เช่น ! @ # $ % ^ & * ( [ /
2. สามารถใช้เครื่องหมาย Underscore ( _ ) ได้
3. ชื่อตัวแปรสามารถมีตัวเลขได้ แต่ต้องไม่ขึ้นต้นด้วยตัวเลข
4. ห้ามมีช่องว่าง
5. สามารถใช้ได้ทั้งตัวอักษรเล็ก และตัวอักษรใหญ่ ในภาษาอังกฤษได้
6. ชื่อตัวแปรที่สะกดเหมือนกัน แต่ใช้ตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ต่างกัน ถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัวกัน
7. ห้ามตั้งชื่อตัวแปรซ้ำกับคำสงวนหรือคำสั่งในภาษา C++ เช่น ตัวแปรชื่อ int char ไม่สามารถใช้ได้

ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปร
 ชื่อตัวแปร  คำอธิบาย
 $age  ผิด เพราะ มีเครื่องหมาย $
 number-person  ผิด เพราะ มีเครื่องหมาย -
 age  ถูก
 number_person  ถูก
 Total_of_Product  ถูก
 long  ผิด เพราะ เป็นคำสงวนในภาษา C++
 Long  ถูก เพราะ เป็น L ตัวใหญ่ซึ่งไม่ตรงกับคำสงวน
 Person1  ถูก
 a1  ถูก
 1Com  ผิด เพราะ ตัวเลขอยู่ด้านหน้า
 number person  ผิด เพราะ มีเว้นวรรค

ตัวอย่างการใช้งานตัวแปรในภาษา C++
1. ตัวอย่างการประกาศตัวแปร กำหนดค่าให้ตัวแปร และแสดงค่าของตัวแปร
#include <iostream>
using namespace std;
int main()
{
     int score;        //สร้างตัวแปรชื่อ score ชนิด int (เก็บจำนวนเต็ม)
     score=100;    //ให้ตัวแปร score มีค่าเท่ากับ 100
     cout << "You Score is : " << score << endl; //แสดงข้อความ You Score is :
                                              //และตามด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในตัวแปร score

     char a;         //สร้างตัวแปรชื่อ a ชนิด char (เก็บตัวอีกษร 1 ตัวอักษร)
     a='A';          //ให้ตัวแปร a ทำการเก็บตัวอีกษร 'A'
     cout << "Char a is : " << a << endl;  //แสดงข้อความ Char a is :
                                          //และตามด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในตัวแปร a
     return 0;
}
ผลการรันโปรแกรมจะได้ดังรูป



2. ตัวอย่างการประกาศตัวแปรและให้ผู้ใช้งานโปรแกรมใส่ค่าให้กับตัวแปร
     การรับค่าจากผู้ใช้เพื่อใส่ข้อมูลลงไปในตัวแปรใช้คำสั่ง cin >> <ชื่อตัวแปร>
#include <iostream>
using namespace std;
int main()
{
     int score;        //สร้างตัวแปรชื่อ score ชนิด int (เก็บจำนวนเต็ม)
     cout << "Please input score : ";  //แสดงข้อความ Please input score :
                                                //เพื่อให้ผู้ใช้งานโปรแกรมรู้ว่าใส่ค่าอะไร
     cin >> score;    //รับค่าจากผู้ใช้มาเก็บไว้ในตัวแปร score;
     cout << "You Score is : " << score << endl; //แสดงข้อความ You Score is :
                                           //และตามด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในตัวแปร score
     return 0;
}

ผลการรันโปรแกรมจะได้ดังรูป



จบแล้วสำหรับตัวแปรในภาษา C++ มาต่อด้วยการคำนวนในภาษา C++ กันเลย ไปโลดดด

เอกสารอ้างอิง
หนังสือ คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี โดย นิรุธ อำนวยศิลป์
หนังสือ C++ Programming Today โดย Barbara Johnston
เอกสารการเรียนวิชา Programming Fundamental มหาวิทยาลัยบูรพา



2 ความคิดเห็น: